Lecture

บทที่ 8 เลือกใช้สีสำหรับเว็บไซต์ 

- สีสันในเว็บเพจเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการดึงดูดความสนใจของผู้ใช้
  เนื่องจากสิ่งแรกที่ผู้ใช้มองเห็นจากเว็บก็คือสี  ซึ่งเป็นสิ่งกำหนดบรรยากาศ
  และความรู้สึกโดยรวมของเว็บไซต์
- การใช้สีพื้นใกล้เคียงกับสีตัวอักษร  บางครั้งอาจสร้างความลำบากในการอ่าน
- การใช้สีที่มากเกินความจำเป็นอาจสร้างความสับสนให้กับผู้อ่านได้ 
 - การใช้สีที่กลมกลืนกันช่วยให้เว็บไซต์น่าดูชมมากยิ่งขึ้น      
                         
ประโยชน์ของสีในเว็บไซต์  

- สามารถชักนำสายตาผู้อ่านให้ไปยังทุกบริเวณในหน้าเว็บเพจ
ที่ต้องการได้  เช่น  ข้อมูลใหม่  หรือโปรโมชั่นพิเศษ
- สีช่วยเชื่องโยงบริเวณที่ได้รับการออกแบบเข้าด้วยกัน
- สีสามารถนำไปใช้ในการแบ่งบริเวณต่างๆออกจากกัน
 - สีสามารถใช้ในการดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน
- สีสามารถสร้างอารมณ์โดยรวมของเว็บเพจ
- ช่วยสร้างระเบียบให้กับข้อความต่างๆ เช่น ใช้สีแยกระหว่างหัวเรื่องกับเนื้อเรื่อง
- สามารถส่งเสริมเอกลักษณ์ขององค์กรหรือหน่วยงานนั้นๆ 
  
ความรู้เบื้อต้นเกี่ยวกับสี  

- มีสีขั้นต้น  ( Primary  color )                
  * สีแดง               
   * สีเหลือง                  
   * สีน้ำเงิน  
- สีขั้นที่  2 
 - สีขั้นที่  3  
- สีขั้นที่  4      

ชุดสีร้อน ( Warm Color Scheme )

                     ชุดสีร้อนประกอบด้วยสีม่วงแกมแดง , แดงแกมม่วง , แดง , ส้ม , เหลือง และเขียวอมเหลือง สีเหล่านี้สร้างความรู้สึกอบอุ่น สบาย และความรู้สึกต้อนรับแก่ผู้ชม ช่วยดึงดูดความสนใจได้ง่าย ในทางจิตวิทยาสีร้อนมีความสัมพันธ์กับความสุข สะดวก สบาย สีต่างๆในชุดสีร้อนมีความกลมกลืนอยู่ในตัวเอง ขณะที่อาจจะดูไม่น่าสนใจบ้าง เพราะขาดสีประกอบที่ตัดกันอย่างชัดเจน

ชุดสีเย็น ( Cool Color Scheme )

                     ชุดสีเย็นประกอบด้วยสีม่วง , น้ำเงิน , น้ำเงินอ่อน , ฟ้า , น้ำเงินแกมเขียว และสีเขียว ตรงกันข้ามกับชุดสีร้อน ชุดสีเย็นให้ความรู้สึกเย็นสบาย องค์ประกอ บที่ใช้สีเย็นเหล่านี้จะดูสุภาพเรียบร้อย และมีความชำนาญ แต่ในทางจิตวิทยา สีเย็นเหล่านี้กลับมีความสัมพันธ์กับความซึมเศร้าหดหู่และเสียใจ นอกจากนั้น ชุดสีเย็นมีความกลมกลืนกันโดยธรรมชาติ แต่อาจจะดูไม่น่าสนใจในบางครั้ง เพราะขาดความแตกต่างของสีที่เด่นชัด

ชุดสีแบบสีเดียว (Monochromatic Color Scheme)

                     รูปแบบของชุดสีที่ง่ายที่สุดคือชุดแบบสีเดียวที่มีค่าของสีบริสุทธิ์เพียงสีเดียว ความหากหวายของสีชุดนี้เกิดจากการเพิ่มสีเดียว ความหลากหลายของสีชุดนี้เกิดจากการเพิ่มความเข้มหรือความเข้มหรือความอ่อนในระดับต่างๆ ให้กับสีตั้งต้น ดังนั้น ชุดสีแบบเดียวของสีแดงอาจประกอบด้วยสีแดงล้วน สีแดงอิฐ(สีเข้ม ของสีแดง) สีสตรอเบอรี่(สีอ่อนปานกลางของสีแดง) ละชมพู(สีอ่อนมากของสีชมพู)

ชุดสีแบบสามเส้า (Triadic Color Scheme)

                   ชุดสีแบบสามเส้ามีข้อได้เปรีบยตรงที่มีเสถียรภาพสูง เพราะแต่ละสีมีความสมดุลอย่างสมบูรณ์แบบกับอีกสองสีที่เหลือ และรูปแบบนี้ยังมีลักษณะของความเคลื่อนไหว เนื่องจากแต่ละสีมีการชักนำไปสู่กันและกัน ตามกระบวนการธรรมชาติ ทำให้มีลักษณะเด่นในด้านความีชีวิตชีวา ซึ่งเป็นประโยชน์ในการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบที่ชัดเจน แน่นอน แต่บางครั้งความสดใสดังกล่วงอาจมีลักษณะที่ฉูดฉาดเกินไปจนไปรบกวนการสื่อสารความหมายที่แท้จริงได้


ชุดสีที่คล้ายคลึงกัน (Analogous Color Scheme)

                   สีที่มีรูปแบบอย่างง่ายอีกแบบหนึ่ง ก็คือชุดสีที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งจะประกอบด้วยสี 2 หรือ 3 สีที่อยู่ติดกันในวงล้อสี เช่นสีแดงแกมม่วง สีแดง และสีส้ม เนื่องจากชุดสีที่อยู่ในรูปแบบนี้มีจำนวนมากมายทำให้เราสามารถเลือกชุดสีแบบนี้มาใช้งานได้อย่างง่ายสะดวก และแม้ว่าเราสามารถเพิ่มจำนวนสีในชุดให้มากขึ้นเป็น 4  หรือ 5 สีได้ แต่กลับจะมีผลให้ขอบเขตของสีที่มีความกว้างเกินไป ทำให้สีอยู่ตรงปลายทั้งสองของชุดไม่มีความสัมพันธ์กัน เป็นสาเหตุให้ลักษณะการที่อยู่ตรงปลายทั้งสองชุดไม่มีความสัมพันธ์ เป็นสาเหตุให้ลักษณะการที่มีสีคล้ายคลึงกันลดลง 

ชุดสีตรงข้าม (Complementary Color Scheme)

                  สีตรงข้ามในที่นี้  หมายถึง  สีที่อยู่ตรงกันข้ามกันในวงล้อสี  เช่น  สีแดงกับฟ้า  หรือสีน้ำเงินอ่อนกับส้มน่าสนใจที่ว่าเมื่อนำสีทั้งสองนี้มาผสมกัน  จะได้ผลลัพธ์เป็นสีขาวสำหรับวงล้อสีแบบบวก  หรือได้เป็นสีดำสำหรับวงล้อสีแบบลบ  ที่เป็นเช่นนี้ก็เนื่องจากว่าสีแต่ละสีที่อยู่ตรงข้ามกัน  จะมีอัตราส่วนของสีขั้นต้นที่ผกผันกัน  ตัวอย่างเช่น  สีแดงในวงล้อสีแบบบวกมีสีที่ตรงข้ามเป็นสีน้ำเงินแกมเขียว  ซึ่งเป็นส่วนผสมจากสีน้ำเงินและเขียว  จึงทำให้สีทั้งสองรวมกันยังได้เป็นสีขาวอีกเช่นเดิม  จากคุณสมบัตินี้เราอาจเรียกสีคู่นี้ว่าเป็น “สีเติมเต็ม”  ก็ได้

ชุดสีตรงข้ามข้างเคียง (Split Complementary Color Scheme)

                     ชุดสีตรงข้ามข้างเคียงมีรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงมาจากชุดสีตรงข้าม  แต่ละความแตกต่างกันที่สีใดสีหนึ่งที่อยู่ตรงข้ามกันถูกแทนที่ด้วยสีที่อยูด้านข้างทั้งสอง  เช่น  สีฟ้าซึ่งมีสีด้านข้างเป็นสีน้ำเงินอ่อนกับสีน้ำเงินแกมเขียว  ฉะนั้นชุดสีตรงข้ามข้างเคียงที่ได้จึงประกอบด้วย  สีแดง  สีน้ำเงินอ่อน  และสีน้ำเงินแกมเขียว 

ชุดสีตรงข้ามข้างเคียงทั้ง 2 ด้าน (Double Split Complementary Color Scheme)

                       ชุดสีแบบนี้ถูกดัดแปลงมาจากชุดสีตรงข้าม  เช่นกัน  แต่คราวนี้สีตรงกันข้ามทั้งสองถูกแบ่งแยกเป็นสีด้านข้างทั้ง 2 ด้าน  จึงได้เป็นชุดสี 4 สี ดังเช่นสีแดงแกมม่วงกับน้ำเงินแกมเขียว  และน้ำเงินอ่อนกับส้ม  ข้อได้เปรียบที่เห็นได้ชัดคือ  ความหลากหลายที่เพิ่มขึ้นจากชุดสีตรงข้ามแบบแบ่งแยก  ส่วนข้อเสียเปรียบก็ยังมีลักษณะเช่นเดิมที่ความสดใสและความกลมกลืนของสีลดลง

******************************************************


บทที่ 9  การออกแบบกราฟิกสำหรับเว็บไซต์

ระบบการวัดขนาดของรูปภาพ
                เมื่อจอมอนิเตอร์ทำการแสดงผลรูปภาพในเว็บเพจ พิกเซลในรูปภาพจะจับคู่กันแบบหนึ่งต่อหนึ่งกับพิกเซลตามความละเอียดของหน้าจอ ทำให้หน่วยการวัดรูปภาพในเว็บจึงเป็นพิกเซล ไม่ใช่นิ้วหรือเซ็นติเมตรแต่อย่างใด ดังนั้นในกระบวนการ ออกแบบกราฟิกและรูปภาพต่างๆ คุณจึงความลดขนาดเป็นพิกเซลไว้เสมอ ซึ่งจะมีประโยชน์ในการเปรียบเทียบขนาดกราฟิกกับองค์ประกอบอื่นๆ ในหน้าเว็บ รวามถึงขนาดวินโดว์ของบราวเซอร์อีกด้วย

ความละเอียดของรูปภาพ
                โดยปรกติแล้ว รูปภาพทุกรูปในเว็บไซท์ควรจะมีความละเอียดแค่ 72 ppi ก็ เพียงพอแล้ว เรื่องจากจอมอนิเตอร์องผู้ใช้ส่วนใหญ่มีความละเอียดต่ำ (72 ppi) ดังนั้นแม้ว่ารูปภาพจะมีความละเอียดสูงกว่านี้เราก็ไม่อาจมองเห็นความแตกต่างได้

ปัญหาเกี่ยวกับขนาดไฟล์ของกราฟิก
                แม้ว่ากราฟิกและรูปภาพต่างๆ จะช่วยสึความหมายและสร่างประโยชน์อีกหลายอย่าง เราควรรู้ถึงข้อเสียของกราฟิกเหล่านี้ไว้บ้าง โดยปรกติ แล้วข้อมูลในเว็บไซท์ประกอบด้วยไฟล์ HTML ที่เป็นตัวอักษร และกราฟิกหรือรูปภาพเป็นสิ่งสำคัญ กราฟิกใช้เวลาในการดาวน์โหลดมาก กว่าตัวอักษรหลายเท่า ดังนั้นกราฟิกขนาดใหญ่อาจใช้เวลาในการสแดงผลนานมาก เมื่อผู้ใช้ระบบการเชื่อต่อกับอินเตอร์เน็ทที่ค่อนข้างช้า

ลดขนาดไฟล์กราฟิกสำหรับเว็บ (Optimizing Web Graphic)
                ปัญหาความเชื่องช้าของอินเตอร์เน็ททำให้ผู้ออกแบบเว็บไซท์ต้องระมัดระวังในเรื่องของเวลาที่ใช้ในการดาวน์โหลดเป็นอย่างมาก แนวทางง่ายๆ สำหรับผู้มีหน้าที่ออกแบบกราฟิกำหรับเว็บก็คือพยายามทำให้กราฟิกมีขนาดเล็กมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
               ใดๆ เลยย่อมไม่น่าสนใจ เพราะกราฟิกมีบทบาทสำคัญในการแนะนำ และสร้างความบันเทิงต่อผู้ชม ดังนนั้นแนวทางที่ดีที่สุดคือการสร้างเว็บที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้กราฟิกที่แสดงผลได้อย่างรวดเร็ว  ทั้งนี้ผู้ออกแบบต้องรู้จักที่จะสร้างความสมดุลระหว่างความสวยงามกับความเร็วในการแสดงผลเรื่องจากการสร้างเว็บโดยไม่มีรูปภาพกราฟิก

******************************************************

บทที่ 10 การจัดรูปแบบตัวอักษรสำหรับเว็บไซต์

 ส่วนประกอบของตัวอักษร
   ในแต่ละตัวอักษรประกอบด้วยส่วนต่าง  ที่เราน่าจะรู้จักไว้ เพื่อที่จะใช้ประโยชน์เมื่อต้องการเปรียบเทียบ
ลักษณะของตัวอักษณแต่ละชนิดได้ ส่วนประกอบหลัก  ที่ควรรู้จัก มีดังนี้

 

Ascender ส่วนบนของตัวอักษรพิมพ์เล็ก ที่สูงกว่าความสูง  x-height ของตัวอักษร
-  Descender ส่วนล่างของตัวอักษรพิมพ์เล็กที่ต่ำกว่าเส้น baseline ของตัวอักษร
Baseline เส้นสมมุติที่ตัวอักษรส่วนใหญ่ตั้งอยู่
Cap height ความสูงจากเส้น baseline ไปถึงส่วนบนสุดของตัวอักษรพิมพ์ใหญ่
x-height หมายถึง ความสูงของตัวอักษร x ในแบบพิมพ์เล็ก ซึ่งมักจะใช้อ้างถึง
    ความสูงของตัวอักษรที่ไม่รวมส่วนบนและส่วนล่าง
-  point size ระยะความสูงทั้งหมดวัดจากส่วนบนสุดถึงส่วนล่างสุดของตัวอักษร

 
การจัดตำแหน่ง (Alignment)

           การจำตำแหน่งของตัวอักษรในแต่ละส่วนมีผลต่อความรู้สึกของเอกสารโดยที่การจัดตำแหน่งแต่ละแบบจะให้ความรู้สึกที่ต่างกัน ตัวอักษรที่ถูกจัดให้ชิดขอบด้านซ้ายโดยที่ปล่อยให้ด้านขวามีลักษณะไม่สม่ำเสมอ จะให้ความรู้สึกไม่เป็นทางการ และจะอ่านได้ง่ายกว่าการจัดชิดขอบขวา โดยทั่วไปแล้วพยายามหลีกเลี่ยงการจัดชิดขวายกเว้นเมื่อมีความเหมาะสมกับรูปแบบจริงๆ ส่วนตัวอักษรที่มีการปรับระยะให้ชิดขอบทั้งซ้ายและขวา (Justify) เป็นที่นิยมใช้ในหนังสือพิมพ์และจุลสาร พร้อมกับให้คามรู้สึกที่เป็นทางการอีกด้วย

 
ความสะดวกในการอ่าน 
1.  หลีกเลี่ยงตัวอักษรที่เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด
2.  การใช้ตัวอักษรพิมพ์เล็กทั้งหมดในประโยค สร้างความรู้สึกไม่เป็นทางการและแสดงถึงความสมบูรณ์ของเนื้อหา
3.  การจัดข้อความในหน้าเว็บ
4.  การจัดตำแหน่ง Alignment
5.  การจัดข้อความในหน้าเว็บ
6.  จัดแบบ justifyทำให้ช่องว่างในแต่ละคำแตกต่างไปในแต่ละบรรทัด ซึ่งอาจทำให้เกิดช่องว่างที่ไม่สวยได้
7.  ความยาวของหน้าเว็บควรจัดเป็นแบบพารากราฟหรือตัดแบ่งเป็นหลายๆหน้า
8.  ขนาดของตัวอักษร ใช้ตัวอักษรให้หลายขนาดเพื่อสร้าง ลำดับความสำคัญของข้อมูล
9.  เน้นข้อความให้เด่นชัดเพื่อสร้างจุดดึงดูดสายตาของผู้เข้าชม